วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย


        การออกกำลังกาย คือ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่ม หรือคงไว้ซึ่งความทนทานของระบบไหลเวียนโลหิตและปอด โดยมีขบวนการใช้ออกซิเจน ในขบวนการเผาผลาญ เพื่อให้เกิดพลังงานสำหรับการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง จึงมีชื่อเรียกการออกกำลังกายชนิดนี้ว่า AEROBIC EXERCISE

ประโยชน์ต่อสุขภาพ  
1. ระบบไหลเวียนโลหิต                                                                                                                                    
1.1 ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงมากขึ้น สามารถสูบฉีดโลหิตได้ปริมาณมากขึ้น
1.2 เพิ่มหลอดโลหิตฝอยมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น
1.3 ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ทั้งในขณะพัก และออกกำลังกาย ทำให้ไม่เหนื่อยง่าย
1.4 ลดแรงต้านทานส่วนปลายของหลอดโลหิตฝอยทำให้ความดันโลหิตลดลงทั้งขณะพัก และออกกำลังกายลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
2. ระบบหายใจ
2.1 ความจุปอดเพิ่มขึ้น ทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนมากขึ้น
2.2 เพิ่มปริมาณโลหิตไปสู่ปอด ทำให้การไหลเวียนของปอดดีขึ้น
2.3 เพิ่มประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซที่ปอด ทำให้ประสิทธิภาพการหายใจดีขึ้น
3. ระบบชีวเคมีในเลือด
3.1 ลดปริมาณคอเลสเตอรอล (Cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) จึงลดอัตราเสี่ยงต่อ
โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน
3.2 เพิ่ม HDL Cholesterol ซึ่งช่วยลดการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
3.3 ลดน้ำตาลส่วนเกินในเลือด เป็นการช่วยป้องกันโรคเบาหวาน
4. ระบบประสาทและจิตใจ
4.1 ลดความวิตกกังวลและคลายความเครียด
4.2 มีความสุขและรู้สึกสบายใจจากสาร Endorphin ที่หลั่งออกมาจากสมองขณะออกกำลังกาย
ขั้นตอนและหลักในการปฏิบัติ    ถ้ามีอายุมากกว่า 35 ปี ควรตรวจสุขภาพ ว่ามีโรคหัวใจหรือไม่ก่อนการออกกำลังกายชนิดนี้ ควรรู้วิธีเหยียดและยืดกล้ามเนื้อ รวมทั้งอุ่นเครื่อง (Warm up) และเบาเครื่อง (Cool down) หลักในการปฏิบัติ เป็นการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างน้อย 1 ใน 6 ส่วนของร่างกาย ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ                                                                                                                          
รูปแบบการออกกำลังกาย
มีหลากหลายชนิดเช่น วิ่งเหยาะ, เดินเร็ว, ขี่จักรยาน, ว่ายน้ำ, เต้นแอโรบิค, ฟุตบอล, บาสเก็ตบอล, เทนนิส, แบดมินตัน, ตระกร้อข้ามตาข่าย, วอลเลย์บอล เป็นต้น
ข้อควรระวัง
ควรงดการออกกำลังกาย ในขณะเจ็บป่วย มีไข้ พักผ่อนไม่พอควรออกกำลังกายก่อนอาหารหรือหลังอาหารหนักผ่านไป 3-4 ชั่วโมง และดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ควรหลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่ร้อนจัด หนาวจัด ฝนฟ้าคะนอง มลภาวะมากสวมเสื้อผ้าที่เหมาะสมควรพักหากมีอาการแน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน
และไปพบแพทย์









ประโยชน์จากนมถั่วเหลือง

 
ประโยชน์จากนมถั่วเหลือง





     ถั่วเหลืองมีสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ตัวหนึ่งที่โดดเด่นและน่าสนใจคือ กลุ่ม 
ไอโซฟลาโวนส์  Isoflavones ตัวอย่างเช่น geistein ,daidzein ซึ่งทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมน เอสโตรเจนในร่างกาย   

ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองจึงมีประโยชน์อย่างมากสำหรับคุณสุภาพสตรี โดยเฉพาะที่มีภาวะหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนหลักที่ควบคุมการเสริมสร้างกระดูกของร่างกาย และยังช่วยรักษาความชุ่มชื้น ยืดหยุ่นของผิวหนัง 

การทานน้ำนมถั่วเหลือง หรือเต้าหู้ก็เป็นอีกหนทางที่ดีที่จะช่วยคุณสุภาพสตรีลดหรือบรรเทาอาการข้างเคียงจากภาวะหมดประจำเดือน 

คุณประโยชน์อื่นๆที่น่าสนใจยังมีอีกเพราะถั่วเหลืองไม่ได้มีคุณประโยชน์เพียงแค่ผู้หญิง
แต่ผู้ชาย จนถึงเด็กๆต่างก็ได้รับประโยชน์จากถั่วเหลืองได้ดังข้อมูลที่จะกล่าวต่อไป:


- ช่วยลดและป้องกัน โรคมะเร็งเต้านม และ บรรเทาอาการ ข้างเคียงจาก ภาวะหมดประจำเดือน

- ช่วยป้องกันและแก้ไข โรคหัวใจ   เนื่องจากเป็นอาหารที่ไม่มีคอเรสเตอรอล มีไฟเบอร์สูง นอกจากนี้ยังมี โอเมกา 3 และวิตามินอี

- ช่วยป้องกันและยับยั้งโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก แม้ว่ากลไกในการทำงานของมันเรายังไม่ทราบ แต่นักวิจัยพบว่าผู้ชายที่รับประทานผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองยิ่งมากเท่าไร การเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากยิ่งพบน้อยลง

- ช่วยป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากถั่วเหลืองมีไฟเบอร์สูง  ไฟเบอร์เหล่านี้จะช่วยทำความสะอาดระบบทางเดินอาหาร  

- ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ได้

- เป็นแหล่งโปรตีนสำคัญสำหรับนักมังสวิรัต  เพราะถั่วเหลืองมีสารอะมิโน เอซิด ที่จำเป็นต่อร่างกาย

- ใช้แทนน้ำนมวัว  ในเด็กที่แพ้นมวัวและแพ้แลคโตสในนม  เราสามารถใช้น้ำนมถั่วเหลืองชดเชยได้

- ใช้เป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน  เพราะถั่วเหลืองมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบน้อย และยังไม่มีคอเลสเตอรอล

 ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น น้ำเต้าหู้ เต้าหู้ประเภทต่างๆ







รักการอ่าน

รักการอ่าน


     การอ่าน คือ การแปลความหมายจากตัวอักษรที่ปรากฏบนสิ่งพิมพ์หรือข้อเขียนออกมาเป็นความคิด และนำความคิดไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์
ขั้นตอนในการอ่าน
- ขั้นตอนการเคลื่อนไหวจากระบบประสาทมาสู่ปาก หรือการอ่านออกเสียง ความเร็วจะเท่ากับความสามารถในการเปล่งเสียงออกมาแต่ละคำ การอ่านลักษณะนี้มักเป็นของเด็กเล็กที่ครูให้อ่านออกเสียงเพื่อพัฒนาการอ่าน
- ขั้นตอนการได้ยินเสียงคำที่อ่านในใจ เป็นลักษณะการอ่านช้าๆ ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
- ขั้นเข้าใจทันทีที่เห็นข้อความ เป็นลักษณะการอ่านที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นการอ่านที่เข้าใจเรื่องอย่างชัดเจนในทันที่อ่าน ซึ่งควรฝึกทักษะการอ่านในลักษณะนี้
ประโยชน์ของการอ่านคือ
1. เป็นการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมที่ง่าย และตรงตามความต้องการ เนื่องจากหนังสือจะแยกประเภท วิชา หมวดหมู่ไว้เรียบร้อยอยู่แล้ว และการอ่านจะช่วยให้เรารอบรู้ทันเหตุการณ์และพัฒนาด้านวิชาการ นักพูดและนักเขียนที่ประสบความสำเร็จมักเป็นผู้ที่มีนิสัยรักการอ่าน และเป็นผู้แสวงหาความรู้อยู่เสมอ
2. เป็นการช่วยส่งเสริมความคิด ช่วยให้ได้รับรู้นานาทัศนะในสาขาวิชาต่างๆ จากทัศนะของผู้เขียนหลายๆคนในประเด็นเดียวกัน การเรียนรู้ดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานสำคัญช่วยให้เกิดพัฒนาการด้านความคิดของตัวผู้อ่านเอง สามารถคิดวิพากษ์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล และมีข้อสนับสนุนจากการอ่านเพียงพอ เป็นที่ยอมรับจากผู้อื่น
3. เป็นการสร้างความบันเทิง และผ่อนคลายสบายใจ เมื่อใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือประเภท นวนิยาย สารคดี การ์ตูน และยังสามารถช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตได้อีกด้วย